ศธ. จัดกิจกรรม ‘6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้ง ส.ส.’

ศธ. จัดกิจกรรม ‘6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้ง ส.ส.’

นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้กล่าวตอนหนึ่งในการแถลงข่าว การจัดกิจกรรม “6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้ง ส.ส.” โดยมี นายวีระ ยี่แพร รองเลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และผู้บริหารระดับสูงของศธ.ร่วมในการแถลงข่าวด้วย เมื่อวันที่ ​7 เมษายน 2566

โดยนายอรรถพล ได้กล่าวว่า ศธ. จัดทำโครงการกิจกรรม “6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร” ในช่วงเวลาระหว่างเดือนเมษายน–พฤษภาคม 2566

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครู นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และสามารถถ่ายทอดความรู้แก่คนในครอบครัวเพื่อเกิดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติให้ผู้ปกครองได้ตระหนักถึงความสำคัญของการเลือกตั้ง และออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งกันมากขึ้น

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า สำหรับการดำเนินโครงการระดับกระทรวง สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 1-7 เมษายน ได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการกิจกรรมระดับกระทรวง และระดับจังหวัด จัดพิมพ์คู่มือและเอกสารประชาสัมพันธ์ความรู้การเลือกตั้ง ส.ส. จำนวนรวม 80,000 เล่ม

ประกอบด้วยคู่มือครูและคู่มือนักเรียนระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอาชีวศึกษา และจัดพิมพ์เอกสารรณรงค์เผยแพร่การเลือกตั้ง ส.ส. สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และสถานศึกษา จำนวน 200,000 เล่ม กระจายไป ศธจ. 77 จังหวัด เพื่อเผยแพร่ต่อไป

ในสัปดาห์ที่ 2 วันที่ 8-14 เมษายน จัดประชุมชี้แจงการดำเนินงานร่วมกับผู้บริหารองค์กรหลัก และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัด (ศธจ.) 77 แห่ง เพื่อให้แนวทางการปฏิบัติงานถูกต้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน รวมทั้งจัดสรรงบประมาณให้กับ ศธจ.

และสัปดาห์ที่ 3-6 วันที่ 15 เมษายน-12 พฤษภาคม เป็นช่วงเวลาของการลงพื้นที่ติดตามประเมินผลการดำเนินงานในพื้นที่ และสร้างเครื่องมือติดตามในระดับกระทรวง

ศธ. จัดกิจกรรม ‘6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้ง ส.ส.’

“ขณะเดียวกันคณะกรรมการดำเนินโครงการระดับจังหวัด จะทำงานคู่ขนานไปพร้อมกันด้วย โดยช่วงสัปดาห์ที่ 1-2 จะประชุมชี้แจงแนวทางการดำเนินกิจกรรมฯ ร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานระดับจังหวัด เช่น ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) ประธานอาชีวศึกษาจังหวัด (อศจ.) ผู้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานศึกษาเอกชน เป็นต้น ส่วนสัปดาห์ที่ 3-4 ดำเนินการสร้างการรับรู้ เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ให้ครูนำคู่มือ สื่อ แอพพลิเคชั่นของ กกต. ภาพยนตร์สั้น กิจกรรมการประกวดคลิป TikTok รณรงค์การเลือกตั้งสู่ผู้เรียนและผู้ปกครอง จากนั้นจะเป็นการติดตามประเมินผลการดำเนินกิจกรรมโดยการลงพื้นที่และสร้างเครื่องมือติดตามในระดับพื้นที่ ในสัปดาห์ที่ 5-6” นายอรรถพล กล่าว

ปลัด ศธ. กล่าวต่อว่า วึ่งนอกจากนี้ ในวันอาทิตย์ที่ 14 พฤษภาคม จะมีลูกเสืออาสา กกต. เพื่อพัฒนาประชาธิปไตย มาให้บริการและช่วยอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่มาใช้สิทธิเลือกตั้ง ณ บริเวณหน่วยเลือกตั้งทั่วประเทศอีกด้วย “6 สัปดาห์ประชาธิปไตย รณรงค์เลือกตั้ง ส.ส.” ถือเป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียน ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารสถานศึกษา และชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการเลือกตั้งครั้งนี้ ทำให้เกิดประสบการณ์ตรงจากการที่ได้เรียนรู้วิถีทางแห่งประชาธิปไตยภาคปฏิบัติ และซึมซับจิตวิญญาณของความเป็นนักประชาธิปไตย

โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 6 สัปดาห์ เพื่อสอดคล้องเหมาะกับห้วงเวลาของการดำเนินการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ซึ่งแบ่งรูปแบบกิจกรรมเป็น 4 ระดับชั้น เพื่อความเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน

นายวีระ กล่าวว่า กกต. พร้อมดันแฮชแท็ก #ไทยโหวตคนไทยพร้อมใช้สิทธิ และจัดทำแอปพลิเคชันเพื่ออำนวยความสะดวกและให้ความรู้เกี่ยวกับการเลือกตั้ง SMART ECT สะดวกครบ จบทุกเรื่องเลือกตั้ง ได้แก่ แอปพลิเคชัน “ตาสับปะรด” ร่วมต่อต้านทุจริตการเลือกตั้ง, แอปพลิเคชัน Smart Vote รอบรู้ทุกเรื่องเลือกตั้ง และแอปพลิเคชัน CIVIC Education รวมพลังสร้างพลเมืองคุณภาพ โดยสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งระบบ Android และ iOS หรือดาวน์โหลดผ่านเว็บไซต์ กกต.

“ทั้งนี้ กกต. ขอสื่อสารไปยังข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐในการวางตัวเป็นกลางทางการเมือง เพราะถ้าวางตัวไม่เป็นกลาง ก็เท่ากับว่าเป็นการช่วยนักการเมืองหาเสียง ซึ่งจะเสี่ยงต่อการถูกกลุ่มการเมืองอื่นร้องเรียนได้ ตลอดจนระมัดระวังการใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการกระทำการใด ๆ อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งหากมีคำถาม หรือข้อคิดเห็นอื่นใดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1444 ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกคำถาม มีคำตอบ ทุกคำตอบ เราติดตามด้วยความใส่ใจ” นายวีระ กล่าว

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ ilanyolla.com

แทงบอล

Releated